อ่าน 427 ครั้ง 12/Sep/23
ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อุดมด้วยสารอาหาร เน้นผักผลไม้ และธัญพืชต่างๆ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นหลักการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่คนส่วนใหญ่ควรเลือกรับประทานกันอยู่แล้ว เพียงแต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานจะมีการจำกัดปริมาณที่เหมาะสม และอาจต้องรับประทานอย่างเป็นเวลาในทุกวัน
นอกจากนี้ อาหารของคนเป็นเบาหวานก็ใช่ว่าจะต้องมีรสจืดชืด หรือต้องบอกลาอาหารสุดโปรดที่แพทย์สั่งงดไปตลอด ผู้ป่วยยังคงสามารถรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันได้อยู่ เพียงแต่ต้องลดสัดส่วนให้น้อยลงหรือรับประทานนานๆ ครั้ง ดังนั้น หากยังอยากกินของชอบหรือต้องการวางแผนรับประทานอาหารเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่ทรมานใจเกินไป ก็สามารถขอคำแนะนำจากแพทย์และนักโภชนาการได้ทุกเมื่อ
การวางแผนมื้ออาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด และไม่จำเป็นต้องงดอาหารทุกอย่างที่เคยชอบ เริ่มแรกสามารถปรึกษานักโภชนาการอาหาร ซึ่งเป็นผู้ที่จะช่วยแนะนำวิธีการวางแผนและเลือกกินอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยที่สุด โดยหลายวิธีสามารถนำมาปรับใช้พร้อมๆ กันเพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นได้ วิธีที่นักโภชนาการมักแนะนำมีดังนี้
หลักการรับประทานอาหารที่คิดค้นขึ้นโดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association) เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานวางแผนมื้ออาหารอย่างง่ายที่สุดด้วยการแบ่งสัดส่วนอาหารในจาน ไม่ต้องนับแคลอรี่ให้ยุ่งยาก เพียงใช้จานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 นิ้ว แล้วแบ่งส่วนอาหารดังต่อไปนี้
อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเป็นตัวการสำคัญที่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น การคำนวณปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับในแต่ละวันจึงเป็นอีกวิธีในการควบคุมน้ำตาลในเลือด และยังช่วยให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับอินซูลินสามารถปรับปริมาณอินซูลินให้เหมาะสมตามได้
การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรตเป็นวิธีที่มักแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลิน แต่ก็ขึ้นอยู่กับทีมแพทย์และนักโภชนาการที่จะพิจารณาว่าผู้ป่วยแต่ละรายจำเป็นต้องนับคาร์โบไฮเดรตหรือไม่ ซึ่งนักโภชนาการจะมีหน้าที่สอนผู้ป่วยคำนวนคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับจากอาหาร โดยให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ เช่น
ในการวางแผนอาหารผู้ป่วยเบาหวานด้วยวิธีนี้ นักโภชนาการจะให้ผู้ป่วยเลือกอาหารจากรายการในประเภทต่างๆ ที่ควรต้องมีในหนึ่งมื้อ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และผักผลไม้ ซึ่งในประเภทเหล่านี้ประกอบด้วยตัวเลือกมากมาย แต่ละเมนูมีสารอาหารต่างๆ ในปริมาณใกล้เคียงกัน และส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดแบบเดียวกัน ช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยก็สามารถปรับเปลี่ยนเมนูต่างๆ ตามใจชอบได้โดยไม่ต้องกังวล
อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง (Glycemic Index) ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงไปด้วย การรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำจึงเป็นอีกวิธีที่บางคนเลือกใช้เพื่อคงระดับน้ำตาลในเลือด
อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของการควบคุมน้ำตาลในเลือดโดยใช้ค่าดัชนีน้ำตาลยังมีความคลุมเครืออยู่ในปัจจุบัน เพราะค่าดัชนีน้ำตาลไม่ใช่ตัวชี้วัดว่าอาหารชนิดนั้นดีต่อสุขภาพหรือไม่ และหากต้องคอยดูตารางดัชนีน้ำตาลของอาหารต่างๆ ตลอดเวลา อาจทำให้การวางแผนอาหารของผู้ป่วยเบาหวานยุ่งยากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้มีงานวิจัยที่ชี้ว่าการรับประทานโดยเน้นอาหารที่มีประโยชน์ให้มาก และลดอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพให้น้อยนั้นเพียงพอแล้ว ซึ่งไม่เพียงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรงจากการได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย
ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานยารักษาโรคเบาหวานหรืออินซูลินบางชนิดนั้นควรต้องรับประทานอาหารให้ตรงเวลาและรับประทานให้ครบทั้ง 3 มื้อ ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำเกินไปได้ แต่ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลินพร้อมมื้ออาหารนั้นอาจมีเวลาการรับประทานอาหารที่ยืดหยุ่นได้ ผู้ป่วยควรสอบถามแพทย์ให้แน่ใจเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับอาการของตนเอง
การรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะจะช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมน้ำหนัก ซึ่งในส่วนนี้ทีมแพทย์และนักกำหนดอาหารจะเป็นผู้ช่วยหาคำตอบว่าควรรับประทานแค่ไหนและควรได้รับแคลอรี่เท่าไรในแต่ละวัน โดยคำนึงตามสภาวะสุขภาพเฉพาะตัวของแต่ละคน เช่น ในกรณีที่มีน้ำหนักเกินหรือมีโรคอ้วน อาจต้องวางแผนปรับอาหารโดยเน้นลดน้ำหนักร่วมด้วยเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคอื่นๆ ที่อาจตามมา การไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง