การตรวจวินิจฉัยโรคปลายประสาทอักเสบ - การรักษาโรคปลายประสาทอักเสบ

อ่าน 353 ครั้ง 31/Aug/23


 

การตรวจวินิจฉัยโรคปลายประสาทอักเสบ - การรักษาโรคปลายประสาทอักเสบ

แพทย์จะซักประวัติและอาการจากนั้นตรวจร่างกายโดยเฉพาะบริเวณที่มีอาการรวมถึงการตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุนอกจากนี้อาจมีการส่งตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • ตรวจการทำงานของเส้นประสาท (NCV) ด้วยการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า โดยนำขั้วไฟฟ้า (Electrode) ติดไว้บนผิวหนัง เพื่อวัดค่าสัญญาณความเร็วและความแข็งแรงของเส้นประสาท 
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) โดยการสอดเข็มเข้าไปทางผิวหนัง เพื่อวัดค่าคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ อาจทำควบคู่ไปกับการตรวจการทำงานของเส้นประสาท  
  • เอกซเรย์ (X-Ray)
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์  (CT-Scan) 
  • เอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)  
  • ตรวจการทำงานของระบบประสาทอื่น ๆ  

การรักษาภาวะปลายประสาทอักเสบ มีเป้าหมายเพื่อบรรเทาอาการ โดยการรักษาโรคหรือภาวะที่เป็นสาเหตุ ดังนี้

  • ยาบรรเทาปวด เช่น ยาลดการอักเสบ (NSAIDs) กรณีอาการไม่รุนแรง 
  • ยารักษาโรคที่มีส่วนประกอบของโอปิออยด์ (Opioid) ซึ่งเป็นยาที่สั่งโดยแพทย์เท่านั้น  ใช้รักษาในกรณีรักษาด้วยวิธีอื่น ไม่ได้ผล  
  • ยาใช้เฉพาะที่ เช่น ยาทาหรือยาแปะ เพื่อลดอาการปวด  
  • ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาทผ่านทางผิวหนัง  (Transcutaneous  electrical nerve stimulation) เพื่อลดความเจ็บปวด โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 30 นาทีต่อวัน เป็นระยะเวลา 1 เดือน
  • การเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลือง (Plasmapheresis) เป็นการนำแอนติบอดี้และโปรตีนออกจากเลือด และนำเลือดที่ถูกกรองแล้วกลับเข้าไปในร่างกาย (บางกรณีอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย) 
  • การให้อิมมูโนโกลบูลิน (Intravenous immunoglobulin)   ผู้ป่วยจะได้รับโปรตีนในระดับสูงที่ทำหน้าที่เหมือนกับแอนติบอดี้ เพื่อยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน กรณีผู้ป่วยมีปัญหาการอักเสบ (บางกรณีอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย)  
  • การผ่าตัด เพื่อลดแรงกดทับ กรณีผู้ป่วยมีสาเหตุจากการกดทับเส้นประสาท เช่น การกดทับจากเนื้องอก  
  • กายภาพบำบัด  เพื่อช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกาย  รวมถึงใช้เครื่องช่วยพยุง ไม้เท้า นั่งรถเข็น  หรือเครื่องช่วยเดิน

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

สาระสุขภาพอื่นๆ