"ไต" อวัยวะสำคัญต่อระบบร่างกายอย่างไร?

อ่าน 392 ครั้ง 28/Aug/23


 

"ไต" อวัยวะสำคัญต่อระบบร่างกายอย่างไร?

ไต (Kidneys) คือ หนึ่งในอวัยวะภายในของมนุษย์ มีลักษณะเป็นเมล็ดถั่วเหลืองขนาดเล็กเท่ากำปั้น อยู่คู่กันระหว่างผนังลำตัวของกระดูกสันหลังช่วงเอว เป็นส่วนประกอบสำคัญในการช่วยปรับความสมดุลสารต่าง ๆ ที่มีปริมาณมากเกินความต้องการต่อร่างกายนั้น ให้ถูกขับออกไปเป็นรูปแบบของเหลวในช่องทางเดินน้ำปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อให้ไตสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจค่าไตจึงเป็นดัชนีที่จะช่วยชี้และค้นหาสาเหตุการทำงานที่ผิดปกติของทุกส่วนประกอบของไต ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรมจากคนในครอบครัวที่มีประวัติโรคไตมาก่อน พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย เพื่อเป็นข้อมูลวินิจฉัย ตรวจหาโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ และให้แนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

ไต จะมีการแบ่งหน้าที่หลัก ๆ 3 อย่าง ได้แก่ การคัดกรองของเสียออกจากเลือดไปในรูปแบบน้ำปัสสาวะ การปรับสมดุลน้ำ-เกลือแร่ในร่างกาย และการผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิตินภายในไต

  1. การคัดกรองของเสียภายในไต มักจะเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายไม่ว่าจะเป็นสารเคมี วิตามินหรือเกลือแร่ที่เกินต่อความจำเป็นต่อร่างกาย และการเผาผลาญจากสารอาหาร (Metabolism) ที่มีสารโปรตีนเกินความต้องการให้ถูกแปรเป็นของเหลวที่มีชื่อว่า ยูเรีย (Urea) ถูกขับไปในน้ำปัสสาวะ
  2. การปรับสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ไตจะช่วยรักษาความสมดุลของเกลือแร่และธาตุภายในร่างกายให้คงที่ ปรับอุณหภูมิภายในร่างกายอยู่ในระดับปกติ อีกทั้งควบคุมการรักษาความสมดุลของกรดและด่างในเลือดไม่ให้สูง-ต่ำจนเกินไป
  3. การผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน (Erythropoietin) ฮอร์โมนตัวนี้ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นส่วนของไขสันหลังกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาหล่อเลี้ยงไปตามเนื้อเยื่อทั่วร่างกายได้อย่างเพียงพอ

ไต เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในการดำรงชีวิตที่ขาดไม่ได้ ดังนั้นการตรวจค่าไตจึงเป็นหนึ่งในการตรวจเช็คสภาพการทำงานของไตว่ามีภาวะการทำงานที่ผิดปกติหรือไม่ หากละเลยการเช็คค่าไตเป็นเวลานาน อาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาแล้วนำไปสู่ภาวะพิษตกค้างในร่างกายสะสมไปเรื่อย ๆ จนเกิดการเสียชีวิตขึ้นมาในภายหลัง

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

สาระสุขภาพอื่นๆ