9 วิธีช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน - เบาหวาน

อ่าน 414 ครั้ง 23/Aug/23


 

การรักษาเบาหวานหากอยู่ภายใต้การควบคุม จะช่วยป้องกันหัวใจ ระบบประสาท และอื่น ๆ นี่คือ สิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานควรจะทำ

9 วิธีช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน 

  1. การลดน้ำหนัก เพื่อช่วยในการควบคุมน้ำตาลในเลือดของคุณ  แพทย์ นักโภชนาการ และผู้ฝึกสอนออกกำลังกาย สามารถช่วยจัดตารางการออกกำลังกายได้
  2. ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) อย่างสม่ำเสมอ (ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซุลินควรตรวจทุกวัน) และบันทึก เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทราบความเปลี่ยนแปลง และทราบว่าอาหารและกิจกรรมใด มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของตนเอง
  3. ตรวจวัดระดับน้ำตาลสะสม (Hb A1c) เพื่อหาค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดของคุณ ใน 2 ถึง 3 เดือน ที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับ A1c ควรอยู่ในช่วง 7% หรือต่ำกว่า ควรปรึกษาแพทย์ในช่วงเวลาการทดสอบ A1c เป็นระยะ ๆ
  4. ตรวจสอบการรับประทานคาร์โบไฮเดรต ว่ารับประทานไปเท่าไหร่และบ่อยเพียงใด การควบคุมคาร์โบไฮเดรตสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยได้ โดยเลือกคาร์โบไฮเดรตเส้นใยสูง เช่น ผักสีเขียว ผลไม้ไม่หวาน ถั่ว และธัญพืช
  5. ควบคุมความดันโลหิต คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ โรคเบาหวานทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้นดังนั้น ควรให้ความระมัดระวังเกี่ยวกับความดันโลหิต และคอเลสเตอรอล ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรักษาระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และตรวจเช็คความดันโลหิต  รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  6. เคลื่อนไหวออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถช่วยควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายยังช่วยลดความเครียด และช่วยควบคุมความดันโลหิต คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ แนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างน้อย 30 นาที ต่อวัน / 5 วันต่อสัปดาห์ อาทิ เดินเล่น เต้นรำ แอโรบิก ว่ายน้ำ เล่นเทนนิส หรือ ปั่นจักรยาน เริ่มออกกำลังกายที่ช้า ๆ หากคุณไม่ได้ออกกำลังกายมานาน  อาจเริ่มด้วยการเดินสัก 10 นาที หลังรับประทานอาหาร  รวมถึงการฝึกความแข็งแรงและการยืดกล้ามเนื้อในบางวันด้วย
  7. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ควรทราบว่าคาร์โบไฮเดรตบางตัว เมื่อเรานอนหลับไม่เพียงพอ ก็มีแนวโน้มที่จะทำให้รับประทานได้มากขึ้น และทำให้น้ำหนักขึ้นด้วยเช่นกัน คนที่เป็นโรคเบาหวานที่นอนหลับเพียงพอ มักจะมีลักษณะการรับประทานที่ดีต่อสุขภาพ และทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น
  8. จัดการกับความเครียด อย่าเกิดความเครียดและโรคเบาหวานในเวลาเดียวกัน เพราะความเครียดจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น สามารถบรรเทาโดยการนั่งเงียบ ๆ สงบ ๆ เป็นเวลา 15 นาที นั่งสมาธิ หรือ ฝึกโยคะ
  9. พบแพทย์และตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละครั้ง ในที่นี้ คือ การตรวจวัดระดับสายตา การตรวจวัดความดันโลหิต  การทดสอบข้อเท้า และการตรวจเช็คภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติของไต  ความผิดปกติของเส้นประสาทและโรคหัวใจ

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

สาระสุขภาพอื่นๆ