อ่าน 324 ครั้ง 22/Aug/23
การป้องกันหรือชะลอการเป็นโรคเบาหวานจะมุ่งเน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต (Lifestyle Modification) หมายถึง การปรับวิถีการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ประกอบด้วยการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ การมีกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายที่เหมาะสม ร่วมกับการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
1. จัดอันดับความหิว จงกินเมื่อหิวจริงๆ
คนเป็นเบาหวานส่วนใหญ่ มักจะคว้าอาหารจากนิสัยความเคยชิน หรือคิดว่าอาหารจะช่วยรักษาระดับน้ำตาล ดังนั้น ต่อไปเมื่อเรารู้สึกหิว หรือโหยหาอาหาร เมื่อยืนอยู่หน้าตู้เย็นหรือตู้กับข้าว อย่าเพิ่งรีบร้อนเปิด โปรดใช้เวลาสักครู่เพื่อตรวจสอบตัวเองว่าคุณหิวจริงหรือ? การทำความเข้าใจว่าทำไมเรากินเมื่อเราจะไม่หิวเป็นขั้นตอนแรกในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
2. ลองใช้หญ้าหวาน
หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานแบบปลอดคาร์โบไฮเดรต โดยให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล หรือพวกน้ำตาลที่มีขายตามท้องตลาด อาทิ ซูโคลส (น้ำผึ้ง) วัตถุแทนความหวานพวกแอสปาร์แตม (น้ำตาลเทียม) แม้จะมีความหวานมาก แต่มันเป็นความหวานจากธรรมชาติที่ปลอดภัย ผู้ป่วยเบาหวานควรทำความรู้จัก และลองใช้หญ้าหวาน แทนความหวานจากน้ำตาลประเภทอื่น
3. การกะปริมาณอาหารโดยใช้มือ
ในคำแนะนำหรือคู่มือต่างๆ มักแนะนำปริมาณอาหารที่ควรกินแก่ผู้ป่วยเบาหวาน แต่คงเป็นการยากเมื่อเราต้องไปกินนอกบ้าน ไม่สามารถพกพาเครื่องชั่งตวงวัดไปได้ หรือที่บ้านเราเองก็ไม่มีอุปกรณ์ชั่งตวงวัด ดังนั้นแนะนำให้กะปริมาณโดยใช้มือของเราเอง ได้แก่
4. เลือกของว่างอย่างฉลาด
การกินของว่างช่วยลดความหิว หากเลือกของว่างอย่างชาญฉลาด ก็จะช่วยลดคาร์โบไฮเดรตหรืออาหารจำพวกแป้ง ซึ่งเป็นศัตรูของผู้ป่วยเบาหวานได้มื้อนึงเลยทีเดียว โดยของว่างที่แนะนำ อาทิ
5. อาหารกระป๋อง ของแช่แข็งบ้างก็ได้
แน่นอนว่า ผักผลไม้สดอาจจะคงคุณค่าสารอาหารไว้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัย อาทิ ฤดูกาล ค่าใช้จ่าย ความสะดวกสบาย ทำให้เราจำเป็นต้องเลือกผักหรือผลไม้กระป๋อง หรือของแช่แข็ง สิ่งสำคัญที่สุดคือ ควรเลือกประเภทโซเดียมต่ำ ปราศจากน้ำตาล
6. บางครั้งต้องยอมตามใจตัวเอง
ผู้ป่วยเบาหวานสามารถกินอาหารได้หลากหลาย ตามใจตัวเองได้เมื่ออยากกินขนมหรือของหวาน เพียงแต่จำเคล็ดลับสำคัญ คือ ปริมาณของอาหารต้องเหมาะกับสุขภาพของคุณ เช่น ถ้ามีเค้กอยู่ในเมนูอาหารเย็นก็ไม่จำเป็นต้องปฏิเสธ แต่อาจแบ่งบางส่วนให้กับเพื่อนร่วมโต๊ะเหลือส่วนน้อยไว้กินก็พอ และถ้าหากรู้อยู่แล้วว่ามื้อนั้นจะมีของหวานตบท้าย ก็ควรลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตไว้ก่อน
7. ระวังอาหารไขมันต่ำอาจคาร์โบไฮเดรตสูง
ในอาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่ เมื่อไขมันถูกลดลง มันจะถูกแทนที่ส่วนที่ขาดไปด้วยคาร์โบไฮเดรต (ศัตรูของผู้ป่วยเบาหวาน) เพื่อเพิ่มปริมาณหรือผิวสัมผัส เมื่อเห็นฉลากอาหารระบุว่า “ไขมันต่ำ” ก่อนซื้อจงดูปริมาณคาร์โบไฮเดรตทั้งหมดบนฉลากอาหารนั้นด้วย และนำเปรียบเทียบกับประเภทที่ไม่ใช่ไขมันต่ำ แล้วเลือกที่คาร์โบไฮเดรตน้อยกว่า
8. กินช้าๆ
โดยปกติร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 15 ถึง 20 นาที เพื่อส่งสัญญาณให้สมองทราบว่ากินอิ่มแล้ว หากเรากินเร็วเกินไป กว่าสมองจะรู้ว่าอิ่ม นั่นหมายถึงเรากินไปปริมาณมากแล้ว
9. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเพิ่มพลังงาน
ที่ถูกเรียกว่า “เครื่องดื่มเพิ่มพลังงาน” เพราะอุดมไปด้วยคาเฟอีนมากกว่าเครื่องดื่มธรรมดา อาทิ กาแฟ 1 ถ้วย หรือโคล่า 1 กระป๋อง ถึง 2 เท่า นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลสูง การศึกษาพบว่า เครื่องดื่มเพิ่มพลังงาน อาจกระตุ้นความดันโลหิต กระตุ้นการเต้นของหัวใจให้สูงขึ้น เป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเบาหวานซึ่งต้องควบคุมน้ำตาล
10. งดเครื่องดื่มประเภทไดเอทโซดา
มีการศึกษาพบว่าเครื่องดื่มไดเอทโซดา เพิ่มความรุนแรงของเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญ และโรคหัวใจ ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สารให้ความหวานเทียมอาจหลอกให้ร่างกายคิดว่าต้องการคาร์โบไฮเดรตมากขึ้นซึ่งในที่สุดจะส่งผลต่อน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าไม่อาจตัดโซดาออกไปจากชีวิตได้อย่าง 100% แต่พยายามดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ