กินของหวานเสี่ยงเป็นเบาหวานจริงหรือไม่? - โรคเบาหวาน

อ่าน 308 ครั้ง 02/Aug/23


 

กินของหวาน เสี่ยงเป็นเบาหวานจริงหรือไม่?

หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่ากินหวานมากไปทำให้เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน นอกจากนี้แล้วยังเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ ตามมาอีกสารพัด ไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน ภาวะอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันพอกตับ ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ฯลฯ แล้วแบบนี้หวานแค่ไหนกันล่ะ ถึงจะไม่อันตราย

กินหวานอย่างไรให้พอดี?

ในแต่ละวันนั้นร่างกายคนเราควรได้รับน้ำตาลวันละ 6 ช้อนชา ซึ่งจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก แนะนำให้คนรับประทานน้ำตาลแค่วันละ 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัมเท่านั้น อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเราแนะนำไม่ให้กินน้ำตาลในปริมาณที่มากนัก แต่น้ำตาลก็เป็นสิ่งที่สำคัญของร่างกายที่ขาดไม่ได้เช่นเดียวกันกับน้ำ หรือวิตามินทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราไม่ควรอด แต่เราควรจะกินอย่างมีวินัย กินตามปริมาณที่กำหนด

  1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ได้แก่ ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว ช็อกโกแลต เยลลี่ นม ข้าวขาว และขนมปัง และหันมาเลือกทานอาหารประเภทต้ม ตุ๋น ปรุงรสไม่จัด หรืออาหารที่มีปริมาณน้ำตาลทรายน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
  2. จำกัดอาหารประเภทข้าว แป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก มัน ฯลฯ อาหารเหล่านี้มีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าน้ำตาล และมีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกาย โดยอาหารจำพวกแป้งจะถูกย่อยเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาล
  3. เครื่องดื่มบางชนิดก็ให้ปริมาณความหวานสูง เช่น ชา กาแฟ ชานมไข่มุก น้ำผลไม้ปั่น ฯลฯ หากต้องการดื่มให้ลดปริมาณความหวานจำพวกน้ำตาล น้ำเชื่อม น้ำข้นหวาน ครีมเทียมต่างๆ ลง โดยหันมาเลือกดื่มเครื่องดื่มที่ใส่น้ำตาลน้อย หรือเลือกทานสารทดแทนความหวานในเครื่องดื่มได้บ้าง เพื่อช่วยลดปริมาณน้ำตาล แต่ถ้าเป็นไปได้ดื่มเครื่องดื่มไม่ใส่น้ำตาลเลยจะดีที่สุด ซึ่งทางเลือกที่ดีเลยก็คือน้ำเปล่า กาแฟดำไม่ใส่น้ำตาล ชาไม่ใส่น้ำตาล เป็นต้น
  4. หลีกเลี่ยงการทานผลไม้ที่มีรสหวานจัด หรือมีปริมาณของแป้งมาก เช่น ทุเรียน กล้วยต่างๆ ลำไย ขนุน ลองกอง เงาะ ลางสาด และละมุด รวมไปถึงผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม และหันมาเลือกทานผักผลไม้ (รสไม่หวาน) เพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  5. รับประทานผักก้าน ผักใบ ผักใบเขียวให้หลากหลายชนิดในหนึ่งวัน เนื่องจากเป็นอาหารที่แคลอรี่ต่ำ และมีใยอาหารสูง ทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง อีกทั้งใยอาหารยังช่วยดูดซับน้ำตาล ไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป ทำให้ร่างกายสามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้พอดี โดยองค์การอนามัยโลกยังได้กำหนดให้บริโภคผักและผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับปริมาณ 4-6 ทัพพี ซึ่งหากเป็นผักต้มสุกจะต้องเพิ่มเป็น 2 เท่า
  6. จำกัดปริมาณในการทานอาหารที่ให้ความหวานที่ไม่ใช่น้ำตาลด้วย เช่น น้ำเชื่อม น้ำผึ้ง น้ำตาลปี๊ป เนยหวาน คาราเมล ไอซิ่ง หรือ น้ำหวานต่างๆ เป็นต้น
  7. ออกกำลังกายเพื่อเป็นการเผาผลาญพลังงานที่ได้รับเกินมาจากน้ำตาลในแต่ละวันควบคู่ไปด้วย เพียงเท่านี้คุณก็จะห่างไกลเบาหวานแล้ว

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

สาระสุขภาพอื่นๆ