อ่าน 321 ครั้ง 05/Jun/23
1. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที จำนวน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยหวังประสิทธิผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. ควบคุมการรับประทานอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่มากเกินไป ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว หรือไขมันทรานส์
2.1 กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid) คือ ไขมันที่ไม่สามารถรับหรือเติมอะตอมไฮโดรเจนเพิ่มได้อีก เช่น ไขมันโคเลสเตอรอล ไขมันไตรกลีเซอไรด์ พบได้ในอาหาร เช่น ไขมันสัตว์ เนื้อหมู เนื้อวัว ไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย ไข่แดง เมื่อบริโภคไขมันอิ่มตัวในปริมาณมาก ไขมันจะไปสะสมในเซลล์ไขมันทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตาม ไขมันอิ่มตัวก็ยังมีความจำเป็นต่อร่างกาย เพียงแต่ต้องบริโภคในปริมาณที่จำกัด
2.2 แนะนำเลือกรับประทานไขมันประเภท กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) เป็นไขมันที่ได้จากพืช (ยกเว้นจากพืชบางชนิด เช่น กะทิ และน้ำมันปาล์ม ที่เป็นไขมันอิ่มตัว)และปลาทะเล ไขมันไม่อิ่มตัว มีผลต่อโรคอ้วนและโรคหลอดเลือดน้อยกว่าไขมันอิ่มตัว แบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
3. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
4. งดสูบบุหรี่ เพราะเป็นสาเหตุทำให้ไขมันดี HDL-C ลดต่ำลง
5. เลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีแป้งมาก อาหารที่มีน้ำตาลสูงและเครื่องดื่มที่มีรสหวานจากน้ำตาล เพราะจะทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูง
6. ปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินการรักษาที่เหมาะสมว่าควรได้รับยาเพื่อลดปริมาณไขมันในเลือดหรือไม่
7. ตรวจสุขภาพประจำปี สม่ำเสมอ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงร่วมและตรวจติดตามระดับไขมันในเลือด