กินอย่างไรเมื่อเป็นโรคเบาหวาน - โภชนบำบัด

อ่าน 328 ครั้ง 30/May/23


 

โรคเบาหวานมี 2 ชนิดคือ

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่พึ่งพาอินซูลินส่วนมากเกิดในเด็ก
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่ต้องพึ่งพาอินซูลิน เกิดจากกรรมพันธุ์ ความอ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุงจากพฤติกรรมการกิน และสาเหตุอื่นๆ

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคเบาหวาน

  • มีอาการกินจุ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ผู้หญิงมักมีอาการคันบริเวณช่องคลอดหรือขาหนีบ
  • โดยการตรวจเลือด (หลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง) สูงเกิน 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

กินอย่างไร ห่างไกลโรคเบาหวาน

กินอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลาย ตามโภชนาการ

  • ปฏิบัติตามโภชนบัญญัติ 9 ประการ
  • หลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีรสเค็ม
  • หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หวานๆ
  • ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที

การเลือกอาหารเพื่อควบคุมเบาหวาน

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. ขนมหวานทุกชนิด เพราะปรุงจากแป้ง น้ำตาล ไข่ เนยสด มาการีน กะทิ
  2. ทองหยิบ ทองหยอด ขนมที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบไอศกรีม เบเกอรี่ต่างๆ เช่น เค้ก คุกกี้
  3. อาหารทอด อาหารมัน เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยแขกทอด ถั่วลิสงทอด อาหารชุบแป้งทอด แกงกะทิ ข้าวเกรียบทอด มันฝรั่งทอด เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบ
  4. น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกฮอล์
  5. นมรสหวาน เช่น นมเปรี้ยว นมปรุงแต่งรสต่างๆ ไมโลชนิด UHT โอวัลตินชนิด UHT นมข้นหวาน ยาคูลย์ นมถั่วเหลือง รสหวาน
  6. ผลไม้รสหวานจัด เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน น้อยหน่า ละมุด ขนุน อ้อย
  7. ผลไม้เชื่อม กวน ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง อบน้ำผึ้ง รวมทั้งผลไม้กระป๋อง
  8. อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารรสเค็มจัด อาหารบรรจุกระป๋องหรือถุง เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ผักดอง

อาหารที่รับประทานได้ แต่จำกัดปริมาณ

  1. กลุ่มนม ควรทาน นมรสจืด นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย นมถั่วเหลือง สูตรไม่มีน้ำตาล ปริมาณที่เหมาะสม 1-2 แก้ว/วัน(ปริมาณ 250 ซี ซี)
  2. กลุ่มข้าว แป้ง และธัญพืช ควรทาน ข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท ปริมาณที่ เหมาะสม 8-9 ทัพพี/วัน
  3. กลุ่มเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ควรทาน เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง ไข่โดยเฉพาะไข่ขาว ปริมาณที่เหมาะสม 12 ช้อนทานข้าว/วัน (ไข่ทั้งฟอง สามารถทานได้ ในผู้มีโคเลสเตอรอลใน เลือดไม่สูง โดยทานได้ 2-3 ฟอง/วัน)
  4. กลุ่มผลไม้ ควรทานผลไม้สด รสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง มะละกอ แอ๊ปเปิ้ล ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ชมพู่ เป็นต้น ปริมาณที่เหมาะสม 3-4 ส่วน/วัน (1 ส่วนผลไม้ เท่ากับ 6-8 ชิ้นคำ)
  5. กลุ่มไขมัน ควรทาน น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด หลีกเลี่ยง น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ ครีมเทียม ปริมาณที่เหมาะสม 6-7 ช้อนชา/วัน
  6. กลุ่มน้ำตาล เกลือ เครื่องปรุงรส ควรทาน โดยหลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาล เกลือ และเครื่อง ปรุงรสมากเกินความจำเป็น สำหรับผู้ที่ติดหวานอาจใช้น้ำตาลเทียมให้ความหวานแทน น้ำตาลทรายได้

อาหารที่รับประทานได้ ไม่จำกัดปริมาณ

กลุ่มพืชผักชนิดต่างๆ เนื่องจากกลุ่มผักให้สารประเภทแป้งน้ำตาลน้อยและมีเส้นใยสูง ช่วยในการขัดขวางการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน ควรทานผักใบเขียวชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักตระกลูผักกาด แตงกวา กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำมะระ ผักตระกลูถั่ว มะเขือเทศ มะเขือยาว เป็นต้น ปริมาณที่เหมาะสม 4-6 ทัพพี/วัน

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

สาระสุขภาพอื่นๆ