อ่าน 375 ครั้ง 05/May/23
โรคไตจากเบาหวาน นับว่าเป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่พบได้บ่อยที่สุดทั่วโลก การลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคไตจากเบาหวาน ทำได้เพียงการตรวจพบให้ได้ตั้งแต่ระยะแรกของโรค และให้การรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของโรคไตจากเบาหวานเท่านั้น การตรวจพบในระยะที่ผู้ป่วยมีอาการบวมหรือตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะอย่างชัดเจนแล้ว โรคจะดำเนินไปสู่ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้นด้วย
แบ่งออกได้เป็น 5 ระยะ
ระยะที่ 1 มีเลือดกรองผ่านไตมากขึ้น พบได้ตั้งแต่เริ่มแรกที่ให้การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
ระยะที่ 2 เริ่มมีการหนาตัวของผนังหลอดเลือดฝอยในไต เริ่มพบได้หลังวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแล้ว 2 ปี
ระยะที่ 3 จะเริ่มตรวจพบโปรตีนขนาดน้อยๆ ในปัสสาวะที่เรียกว่า “ไมโครอัลบูมิน” มักเกิดในเวลา 6-15 ปี ภายหลังการวินิจฉัยโรคเบาหวาน จะเริ่มตรวจพบความดันโลหิตสูงอย่างจริงจัง
ระยะที่ 4 สามารถตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะได้โดยวิธีปกติ ทำให้ปัสสาวะเป็นฟองมากขึ้น ผู้ป่วยมักมีอาการบวม ความดันโลหิตสูง การเสื่อมหน้าที่ของไตเร็วขึ้นอีก
ระยะที่ 5 เป็นระยะที่ไตเสื่อมหน้าที่ลงอย่างมากจนเข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ส่วนใหญ่ใช้เวลา 7-10 ปี หลังเข้าสู่ระยะที่ 4 หากไม่ได้รับการรักษาใดๆ
หากมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะในปริมาณมากแล้ว (ระยะที่ 4) จะกลายเป็นโรคไตเรื้อรัง ซึ่งมีอาการและอาการแสดงคล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังทั่วไป ได้แก่
อย่างไรก็ดี การเกิดโรคไตจากเบาหวานมักมีสิ่งตรวจพบเพิ่มเติมจากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากสาเหตุอื่น ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานที่เกิดขึ้นได้ในอวัยวะอื่นร่วมด้วย ได้แก่ อาการชาปลายมือ ปลายเท้า อาการตามัวจากเบาหวานขึ้นตา อาการจากการตีบของหลอดเลือดแดงต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดในสมองตีบ มีแผลเรื้อรังและขาดเลือดที่เท้าจากหลอดเลือดที่ขาตีบตัน เป็นต้น