อ่าน 143 ครั้ง 07/Mar/24
“ไต” ในทางแพทย์จีนถือเป็นพื้นฐานของสารจำเป็นที่มีมาแต่กำเนิด ช่วยควบคุมชีวิตของคนเราตลอดการเจริญเติบโตไปจนแก่เฒ่า ดังนั้นความหมายของไตในการแพทย์แผนจีนจึงไม่ได้หมายถึงอวัยวะไตเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงระบบการทำงาน ตั้งแต่ตัวอวัยวะนั้นเอง หน้าที่การทำงาน และ ความสัมพันธ์กับอวัยวะอื่น
อาการเมื่อไตพร่อง ได้แก่
ไตชี่พร่อง - ปวดเมื่อยเอว ขาอ่อนแรง ปวดตามข้อ เหนื่อยอ่อนเพลียง่าย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด หรืออั้นปัสสาวะไม่อยู่ การได้ยินถดถอย ตาพร่ามัว หายใจสั้น
ไตหยินพร่อง - หูอื้อ เวียนหัว นอนไม่หลับ ฝันมาก หงุดหงิดใจ ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อน ท้องผูก เป็นต้
ไตหยางพร่อง - ฝ่ามือฝ่าเท้าเย็น ขี้หนาว กลัวลม ท้องเสีย บวมน้ำ เสื่อมสมรรถภาพ เป็นต้น
“ไต” ในทางแพทย์จีนถือเป็นพื้นฐานของสารจำเป็นที่มีมาแต่กำเนิด ช่วยควบคุมชีวิตของคนเราตลอดการเจริญเติบโตไปจนแก่เฒ่า ดังนั้นความหมายของไตในการแพทย์แผนจีนจึงไม่ได้หมายถึงอวัยวะไตเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงระบบการทำงาน ตั้งแต่ตัวอวัยวะนั้นเอง หน้าที่การทำงาน และ ความสัมพันธ์กับอวัยวะอื่น