ทำไมเป็นเบาหวานแล้วแผลหายยาก

อ่าน 157 ครั้ง 15/Feb/24


ทำไมเป็นเบาหวานแล้วแผลหายยาก

            ผู้เป็นเบาหวาน จะมีไขมัน และ น้ำตาล ที่ไม่ถูกย่อยสลายไปจับกับเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบ และ แข็ง เกิดการอุดตัน ทำให้แผลหายยากเพราะไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยง หรือ เลือดไปหล่อเลี้ยงไม่พอ

 

แผลเบาหวาน แบ่งได้ 3 ประเภท

  1. แผลเส้นประสาทเสื่อม
  2. แผลขาดเลือด
  3. แผลติดเชื้อ

ผู้ที่เป็นเบาหวานเรื้อรังมานาน 5-10 ปี หรือมากกว่านั้น มีโอกาสที่จะเสี่ยงเกิดแผลที่เท้า

 

อันตรายของแผลเบาหวาน

  • เรื้อรังรักษายาก ถ้าหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี แผลก็จะหายได้ยาก
  • หายช้า เนื่องจากแผลเบาหวานเกิดจากหลอดเลือดแดงตีบ ทำให้เลือดนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายได้ไม่ดี ทำให้แผลขาดเลือดไปเลี้ยง แผลหายยาก หายช้า หรืออาจไม่หาย
  • ปลายประสาทเสื่อม เกิดจากอาการชา ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ ไม่รู้สว่าเกิดแผล ส่งผลให้แผลลุกลาม
  • เท้าผิดรูป และผิวแห้งหนาผิดปกติ เกิดหนังหนา ๆ เป็นก้อนนูนกดเนื้อเยื่อข้างใต้
  • ระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อม เนื่องจากเส้นประสาทไม่ดี มีผลต่อต่อมไขมันและต่อมเหงื่อ ทำให้การผลิตและหลั่งไขมันลดลง ส่งผลให้ผิวแห้ง แตก เกิดแผลได้ง่าย
  • เสี่ยงสูญเสียนิ้วและเท้า โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดแผลเรื้อรังและติดเชื้อรุนแรงมากกว่าคนปกติ เพราะระดับน้ำตาลสูง เส้นเลือดแดงตีบ เลือดไม่ไปเลี้ยง เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อีกทั้งมีโอกาสเกิดเนื้อตายจากเส้นเลือดแดงส่วนปลายตีบนำไปสู่การสูญเสียนิ้วหรือขาได้

 

หากเกิดแผลที่เท้าแล้ว ควรทำอย่างไร?

หากเป็นแผลจากของมีคมหรือรอยขีดข่วน ควรล้างแผลให้สะอาด เช็ดให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อเช่นเบตาดีนเจือจาง แล้วปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลที่แห้งและผ่านการฆ่าเชื้อ หากแผลบวมแดงและมีน้ำหนอง ควรรีบพบแพทย์

 

การป้องกัน

  1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ หรือ คงที่ที่สุด
  2. งดการสูบบุหรี่                        
  3. ออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอ ตามสภาพร่างกาย                            
  4. ควบคุมไขมันในเลือดไม่ให้สูงเกินปกติ            
  5. ควบคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ                                                           
  6. ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ                                                                      
  7. หมั่นดูแลเท้าอย่างสม่ำเสมอ

 

Cr.รพ.เปาโล, รพ.กรุงเทพฯ,คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สาระสุขภาพอื่นๆ