ความดันโลหิตสูง หากเป็นนาน ๆ จะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร?

อ่าน 285 ครั้ง 08/Feb/24


ความดันโลหิตสูง เป็น ภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงผิดปกติ ซึ่งอาจไม่แสดงอาการ อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะตุบ ๆ คล้ายไมเกรน หรืออาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ และเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ไตวาย เป็นต้น

 

ระดับความดัน

  1. ระดับเหมาะสม ค่าความดันโลหิต ระหว่างน้อยกว่า 120 / น้อยกว่า 80 มม.ปรอท
  2. ระดับปกติ ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 120-129 / 80-84 มม.ปรอท
  3. ระดับสูงกว่าปกติ ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 130-139 / 85-89 มม.ปรอท

 

ระดับความรุนแรงของกลุ่มความดันโลหิตสูง     

ระดับที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 140-159 / 90-99 มม.ปรอท

ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 160-179 / 100-109 มม.ปรอท

ระดับที่ 3 ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ค่าความดันโลหิต มากกว่า 180 / 110 มม.ปรอท

 

ถ้าหากเป็นความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นได้

  • เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ทำให้เป็นไตวายเรื้อรัง
  • หลอดเลือดหัวใจหนาขึ้น หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
  • หลอดเลือดตีบ โป่งพอง เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ ได้น้อยลง
  • มีผลต่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาเสื่อม
  • เป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์ อัมพาต

Cr. รพ. ศิครินทร์, รพ. ศิริราช


บทความที่เกี่ยวข้อง

สาระสุขภาพอื่นๆ