อ่าน 192 ครั้ง 29/Sep/23
โรคภูมิแพ้ขึ้นตา (Allergic Conjunctivitis) เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่แพ้ โดยมักเกิดการอักเสบที่บริเวณเยื่อบุตาขาว สามารถเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ แพ้ตามฤดูกาล, แพ้สารต่าง ๆ, แพ้คอนแทคเลนส์
1. แพ้ตามฤดูกาล อาการผิดปกติมักเกิดขึ้นตามสภาพอากาศ มักเกิดซ้ำ ๆ ในช่วงเวลาเดิมของแต่ละเดือน
2. แพ้สารต่าง ๆ เช่น ไรฝุ่น อาหาร เกสรดอกไม้ น้ำยาปรับผ้านุ่ม ขนตุ๊กตา เครื่องสำอาง ขนสัตว์ เป็นต้น
3. แพ้คอนแทคเลนส์ มักเจอเม็ดขนาดใหญ่ที่บริเวณเยื่อบุตา จึงต้องตรวจพื้นผิวเยื่อบุตาอย่างละเอียด
วิธีการรักษาภูมิแพ้ขึ้นตา จักษุแพทย์ต้องทราบสาเหตุที่แน่ชัดเพื่อจะได้เลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้อง ได้แก่
1. หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ ผู้ป่วยจะหลีกเลี่ยงได้ถ้ารู้ว่าตนเองแพ้อะไร แต่ถ้าไม่รู้จะยากในการเลี่ยง และสิ่งที่แพ้บางอย่างก็ยากจะเลี่ยง เช่น อากาศ ไรฝุ่น
2. การรักษาทางจักษุ เพื่อยับยั้งอาการและป้องกันโรคแทรกซ้อน หากมีอาการภูมิแพ้ขึ้นตา จักษุแพทย์จะให้ยาหยอดตาเพื่อลดอาการอักเสบ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
แน่นอนว่าการหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ คือการป้องกันที่ดีที่สุด แต่ถ้าหากเป็นภูมิแพ้ขึ้นตา สิ่งที่ช่วยให้อาการไม่แย่ลงคือ การดูแลดวงตาไม่ให้ตกอยู่ในภาวะตาแห้ง เพราะเมื่อตาแห้งแล้วเกิดการแพ้ จะทำให้คันมากจนอาจเผลอไปขยี้ตา เพิ่มการอักเสบให้มากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่ค่อนข้างควบคุมยาก พ่อแม่ต้องคอยดูแลใกล้ชิดเพื่อช่วยให้โรคหายเร็วขึ้นและหมั่นสังเกตความผิดปกติจะได้รักษาได้ทัน แต่เมื่อเด็กโตขึ้นภูมิคุ้มกันจะเพิ่มขึ้นช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นภูมิแพ้ขึ้นตาบ่อยครั้ง อาจทำให้เยื่อบุตาอักเสบแบบเรื้อรัง เนื่องจากอาการคันตา เคืองตาบ่อย ๆ ทำให้ต้องรักษาโดยการหยอดตา เมื่อต้องหยอดตาโดยใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์เป็นประจำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคต้อหินมากขึ้น
1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา
เริ่มต้นด้วยการให้ผู้ป่วยสังเกตสิ่งแวดล้อม อาหาร หรือผลิตภัณฑ์ที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ และหลีกเลี่ยง รวมทั้งป้องกันตนเองจากสิ่งกระตุ้นดังกล่าว และงดถูหรือขยี้ตา ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคันมากขึ้น หรืออาจเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนบริเวณดวงตาหากมือไม่สะอาด
2. การรักษาด้วยการใช้ยา
กลุ่มยาหลักที่ใช้รักษา คือ ยาแก้แพ้ ทั้งในรูปแบบยาหยอดตาหรือยาทาน ซึ่งจะช่วยลดอาการคันตาและตาแดง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมาก จักษุแพทย์อาจพิจารณาให้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ชนิดหยอดร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่มนี้อาจต้องให้ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากมีโอกาสทำให้ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อดวงตา เช่น ต้อหิน หรือต้อกระจก เป็นต้น