โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 รักษาอย่างไร - - อาการโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 3

อ่าน 371 ครั้ง 27/Sep/23


 

โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 รักษาอย่างไร?

โรคไตเรื้อรัง เป็นภาวะที่การทำงานของไตลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป และอาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้ในผู้ป่วยบางราย โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อ eGFR ของคุณอยู่ระหว่าง 30-59 การรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอลุกลามของโรคแและเพื่อจัดการปัญหาที่เกิดจากการทำงานของไตที่ลดลง

ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 ไตของคุณได้รับความเสียหายในระดับปานกลาง ดังนั้นจึงไม่สามารถกรองเกลือและสารพิษได้อย่างเหมาะสม และอาจเกิดปัญหาในการรักษาสมดุลของของเหลวได้ ระยะนี้แบ่งออกเป็นสองระยะย่อย ขึ้นอยู่กับระดับการทำงานของไต ได้แก่ CKD ระยะ 3a และ CKD ระยะ 3b แต่จะไม่มีผลต่อการรักษาผู้ป่วย ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 แพทย์จะติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่ามีโปรตีนในปัสสาวะหรือไม่ เนื่องจากโปรตีนในปริมาณที่มากขึ้นอาจหมายถึงความเสี่ยงที่โรคไตเรื้อรังจะพัฒนามากขึ้นและจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม โรคไตเรื้อรังเป็นภาวะเงียบเนื่องจากไม่แสดงอาการใด ๆ ในช่วงระยะแรก อาการและอาการแสดงแรกมักเริ่มปรากฏในระยะที่ 3 หรือหลังจากนั้น เมื่อการทำงานของไตลดลงจะนำไปสู่การสะสมของสารพิษและของเหลวในร่างกาย

อาการของโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 มีดังนี้

  • ความเหนื่อยล้า
  • อาการมือเท้าบวม
  • ปัสสาวะเปลี่ยนสีหรือปริมาตรเปลี่ยนไป
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • อาการคัน
  • เบื่ออาหาร

อาการเหล่านี้อาจไม่เกิดขึ้นทั้งหมดหรือเกิดขึ้นพร้อมกัน แต่จะค่อยๆปรากฏขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยตามการดำเนินไปของโรคไตเรื้อรัง อย่างไรก็ตามควรสังเกตอาการที่อาจจะเกิดเหล่านี้ตามระยะของโรคไตเรื้อรัง

การรักษาโรคไตระยะที่ 3

ยาเช่นยาในกลุ่ม Angiotensin-converting (ACE) inhibitors กลุ่ม Angiotensin-receptor blockers (ARBs) และกลุ่ม sodium-glucose cotransporter-2 (SGLT-2) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสียหายของไตเพิ่มเติมและชะลอการลุกลามของโรคไตวายเรื้อรัง สำหรับการรักษาอื่น ๆ และการเปลี่ยนแปลงอาหารอาจจำเป็นสำหรับหากผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกิดจากโรคไตวายเรื้อรัง เช่น ภาวะโลหิตจาง  หรือภาวะระดับเกลือในเลือดสูง อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้ยังไม่จำเป็นต้องฟอกไต

การดูแลผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 3

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 ผู้ป่วยอาจต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่าง และต้องปรึกษาแพทย์เพื่อจัดการอาการที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม โดยในระยะนี้ แพทย์ประจำของผู้ป่วยอาจส่งต่อผู้ป่วยให้ไปอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านไตหรือที่เรียกว่าอายุรแพทย์โรคไต เพื่อดูแลผู้ป่วยในระยะยาว

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่จำเป็นอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละคน โดยทั่วไปทีมแพทย์จะแนะนำผู้ป่วยให้มีการปรับเปลี่ยนในเรื่อของอาหารให้เหมาะสม อีกทั้งจะแนะนำให้ผู้ป่วยการออกกำลังกายในระดับปานกลาง การเลิกสูบบุหรี่ และจำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควมคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

สาระสุขภาพอื่นๆ